IST Tutorial

Low Polygon

การสร้างต้นไม้ในรูปแบบ Low-Polygon แบบความเร็วติดจรวด ด้วยเทคนิค Custom Brush ใน Photoshop

 

 

 ตอนที่ 11 : How to Create Speed 3D Tree

 

การสร้างต้นไม้เพื่อใช้ในงานแอนิเมชัน หรืองานเกม 3 มิตินั้น มักใช้เวลานานโดยจะเสียเวลาไปกับการจัดแต่งใบไม้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้นั้น ๆ ยิ่งถ้าต้องการให้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้นแล้ว อาจจะต้องลงรายละเอียดไปจนถึงการจัดวางใบไม้ทีละใบกันเลยทีเดียว

วันนี้จึงขอเสนอเทคนิควิธีการสร้างต้นไม้แบบ Low-Polygon แต่ให้รายละเอียดคล้ายกับการสร้างแบบ High-Polygon อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลาในการสร้าง พร้อมทั้งลดทรัพยากรในการประมวลผลได้อีกด้วย

 

เริ่มต้นจากการสร้าง Cube เพื่อใช้เป็นฐานของต้นไม้ จากนั้นทำการยืดแต่ละด้านของวัตถุออกไปด้วยคำสั่ง Extrude โดยกะระยะรูปทรงของรากของต้นไม้ และกิ่งของต้นไม้ที่เป็นสาขาหลักก่อน

 

จากนั้นทำการปรับแต่งจุดของลำต้น โดยอาศัยการเพิ่มเส้น เพื่อให้มีความละเอียดในการปรับได้มากขึ้น โดยพยายามปรับให้ตรงกับลักษณะของต้นไม้ที่นำมาเป็นแบบ ซึ่งในขั้นตอนนี้สามารถดัดแปลงให้มีความหลากหลายได้ตามแต่ผู้ออกแบบ

 

จากนั้นทำการใส่ Texture ให้กับตัวลำต้น โดยทำการ Paint จากโปรแกรม Photoshop ซึ่งสามารถกำหนดแสงและเงาให้กับตัวต้นไม้ผ่านทางการ Paint ได้ ทำให้ไม่ต้องอาศัยการคำนวนแสง-เงา จากโปรแกรม 3 มิติ

 

ในขั้นตอนนี้เราสามารถ Copy ส่วนที่เป็นกิ่งไม้ หรือรากไม้ นำมาต่อเติมให้กับลำต้นเดิมของเราได้อย่างอิสระ 

 

ต่อไปเป็นการสร้างในส่วนของใบไม้ โดยเริ่มจากการสร้าง Plane พ้อมทั้งกำหนด sub-division ให้มีความละเอียดในระดับหนึ่ง เพื่อทำการปรับแต่งให้มีความกระจายกันของจุดตามลักษณะของใบไม้ 

 

จากนั้นเป็นการระบาย Texture ของใบไม้ ในขั้นตอนนี้เราจะใช้เทคนิคการ Paint ด้วย Custom Brush ซึ่งเราสามารถค้นหาหัวแปรงจาก Internet ได้หรือสามารถสร้างหัวแปรงจากรูปภาพด้วยตนเองได้

สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากพี่หมี MR. Beart ตอนที่ 4 ได้เลยจ้า

 

ในการระบายใบไม้นั้น เราจะทำการจัดวางเป็นระดับชั้น ซึ่งจำลองการโดนแสงของใบไม้ ซึ่งชั้นที่อยู่ด้านล่าง สีจะเข้มกว่า ชั้นที่อยู่ด้านบน หรือในความเป็นจริง ใบไม้ที่เป็นใบอ่อน มักจะแตกกิ่งก้านอยู่ตรงส่วนปลาย แอดหนวดจึงได้ทำการแบ่งออกเป็น 3 ชุด ซึ่งมีการไล่ระดับสีทั้ง 3 ชุด

 

จากนั้นจึงนำใบไม้มาจัดวางโดยทำการไล่ระดับเป็นชั้น โดยให้มีการซ้อนกันเพื่อให้เกิดความกลมกลืนของใบไม้

 

เมื่อจัดวางชั้นแรกซึ่งเป็นชั้นที่กว้างที่สุดของต้นไม้แล้ว จึงเพิ่มความสูงขึ้นไป แต่จะลดขนาดของพุ่ม ลงมา โดยเรียงให้มีการซ้อนกันเช่นเดิม

 

 

เราสามารถนำต้นไม้มาจัดวางโดยทำการดัดแปลงให้มีความแตกต่างกันเช่น ความสูง ลักษณะของใบไม้จากหัวแปรง ความกว้างของพุ่มใบไม้ สี ฯลฯ ได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งเมื่อเราใช้งานเทคนิคนี้ เราจะสามารถสร้างต้นไม้แบบ Low- Polygon แต่มีรายละเอียดสูง ภายในระยะเวลาอันสั้น และมีการประมวลผลที่รวดเร็วได้อย่างง่ายดาย

Recent


Distance Tool

Distance Tool

จัดการสัดส่วนของวัตถุได้อย่างแม่นยำด้วยคำสั่ง Distance Tool

Deformer Bend

Deformer Bend

สร้างวัตถุที่มีความโค้งแบบง่าย ๆ ในพริบตาด้วยคำสั่ง Deformer Bend

สร้างเกมไม่ยาก... EP.04

สร้างเกมไม่ยาก... EP.04

ครั้งนี้เรามาต่อกันที่ลูกเล่นของการเคลื่อนที่ของ พื้นหลัง(ฉาก) กันบ้าง เพื่อให้ดูเหมือนว่า...